![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/7a079f005123bd331e19b29d8673ed49.png)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/aa6f26643f42a1976aa4a28a1034b121.png)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/80d3545254989f61bd13490af548ae78.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/1faea447dc6f34d246104a19ec6d9596.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/b5777296d30f6ec0efee14c5fb4bf0ee.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/4370a6f39b89058b674f63878bc1d580.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/aa359c7f046c6bea458e924f86a7a76a.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/a41b46eb8f26d06f4fc20379554291af.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/965a57184d61ca014ec6bc59ce871373.jpeg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/36abcb58ff4969ec822e2e0adf2e84df.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/890f6e01d97b7c66e5d98ef2f1634d07.jpg)
![](https://vilberg-vaf.com/wp-content/uploads/2024/02/4ec7a088c9a4379c825d33996f22463e.jpg)
หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมสเปคฟิลเตอร์แต่ละรุ่น จะระบุรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ในแต่ละรุ่น แต่ละประเภท และแตกต่างกันในแต่ละประเทศผู้ผลิต
ซึ่งวันนี้ทางเราจึงขอยกตัวอย่างหนึ่งในมาตรฐานการทดสอบการลามไฟของฟิลเตอร์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายคือ DIN 53438 Flame retardants ซึ่ง DIN 53438 เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆมาตรฐานการทดสอบ
มาตรฐาน DIN 53438 เป็นมาตรฐานการทดสอบการลามไฟ หรือวัสดุติดไฟประเภทเส้นใย (Fabrics) หรือจำพวกสิ่งทอ (Textile) โดย DIN 53438 เป็นมาตรฐานการทดสอบของเยอรมัน ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้นำในด้านเทคโนโลยีการผลิตฟิลเตอร์กรองอากาศดังนั้นมาตรฐานดังกล่าวจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในระดับสากลและ ยึดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของวัสดุดังกล่าว
แล้วขั้นตอนการทดสอบหละ?? เขาทดสอบกันอย่างไร?
เราสามารถทดสอบเองได้หรือไม่ว่าโรงงานผลิตแต่ละเจ้าหลอกขายสินค้าผิดสเปคหรือไม่?
มาตรฐานการทดสอบ DIN 53438 นั้นจะใช้เปลวไฟเผาวัสดุในแนวดิ่ง เป็นระยะเวลา 15 วินาที แล้ววัดระยะที่เปลวไฟใช้เผาไหม้ลามไปจนถึงระยะตำแหน่งที่กำหนด (Measuring mark) ซึ่งจะแบ่งย่อยเป็น2ประเภท คือ
1.) DIN 53438-2 Edge ignition test หรือ Method K โดยวิธีนี้จะใช้วิธีเผาบริเวณขอบชิ้นงาน และกำหนดตำแหน่ง measuring markไว้ที่ 150 mm.
2.) DIN 53438-3 Surface ignition test หรือ Method F โดยวิธีนี้จะใช้วิธีเผาบริเวณผิวหน้าชิ้นงาน และกำหนดตำแหน่ง measuring mark ไว้ที่ 40mm. (lower mark) และ 190 mm. (upper mark)
ซึ่งเราจะสามารถแบ่งเป็นClassการทดสอบได้ดังนี้
- K1 , F1 เปลวไฟดับก่อนถึงระยะMeasuring mark
- K2 , F2 เปลงไฟลามถึงระยะMeasuring markแต่ใช้เวลาในการลามมากกว่า20วินาที (ลามช้า)
- K3 , F3 เปลวไฟลามถึงระยะMeasuring markโดยใช้เวลาน้อยกว่า20วินาที (ลามเร็ว)
จากการทดสอบข้างต้นมาตรฐานการทดสอบ F1-DIN 53438 คือการที่วัสดุที่ติดไฟนั้น เปลวไฟดังกล่าวจะดับได้เองโดยจะลามไปไม่เกิน 40 มม. นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานดังกล่าวเป็นการทดสอบในห้องแลปซึ่งเป็นสภาวะคงตัว แต่หากมีความเสี่ยงอื่นเช่นจากความร้อนและกระแสลมอาจจะทำให้ความเสียหายจากอัคคีภัยเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้การทดสอบจึงเป็นเพียงการลดความเสี่ยงเท่านั้น
จำเป็นไหมที่จะต้องใช้ฟิลเตอร์มาตรฐาน F1-DIN 53438 ?
ฟิลเตอร์หรือเนื้อใยคลาส F1 เรียกง่ายๆคือวัสดุที่ติดไฟแต่ไม่ลามไฟ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับฟิลเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม กลุ่มโรงงานพ่นสีและระบบอิเลคโทรนิค เนื่องจากโรงงานพ่นสีมีสารเคมีหลายชนิดที่มีความเสี่ยงให้เกิดเปลวเพลิง และใยสังเคราะห์เป็นวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง หากเกิดความเสียหายจะทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง
ทั้งนี้หากเป็นฟิลเตอร์กรองฝุ่นทั่วไป ตำแหน่งการติดตั้งฟิลเตอร์ของหลายๆอาคาร หรือโรงงานมักจะติดตั้งในตำแหน่งใต้ฝ้า ซึ่งหลายต่อหลายครั้งบริเวณใต้ฝ้ามักจะมีผู้รับเหมาหลายๆ รายเข้าไปทำงานในพื้นที่ซึ่งมักจะไม่ระมัดระวังการทำงานในพื้นที่นั้นๆ โดยเปลวไฟที่อาจเกิดจากการตัดต่อหรือเชื่อมท่อต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อฟิลเตอร์และก่อให้เกิดอัคคีย์ภัยตามมาได้ ทั้งนี้ความจำเป็นในการเลือกใช้ฟิลเตอร์ที่ได้มาตรฐานจึงเป็นส่วนสำคัญที่ผู้รับเหมาพึงจารณาเลือกใช้
Reference : http://www.samwoochem.com/TEST%20REGT/GERMAN.pdf